วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

ปวิพ.ม.๙๔


มาตรา ๙๔  เมื่อใด[1]มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับ[2]ฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า [3]ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๒) แห่งมาตรา ๙๓ และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือ[4]ไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือ[5]สัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือ[6]คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด




[1] กรณีไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเช่น การจ้างทำของ ,การนำสืบว่าชำระดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาของเงินต้นตามสัญญากู้ทั้งเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเรื่องดอกเบี้ยไม่มีกฎหมายให้ต้องมีหนังสือมาแสดง,การรับสภาพหนี้,สัญญาจำนำ,การชำระหนี้เงินกู้ด้วยของอย่างอื่นมิใช่เงินเช่นการโอนเงินเข้าบัญชี   
กรณีต้องมีพยานหลักฐานมาแสดงได้แก่การต้องทำเป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง ,สัญญาเช่าชื้อ,การบอกกล่าวจำนอง,การตั้งตัวแทนในกิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือ,ตั๋วเงิน๘๙๘ ๗๐๐,พินัยกรรม๑๖๕๖ ,การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ๑๑๒๙,การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี  ต้องทำเป็นหนังสือและจำทะเบียนต่อจพง. ได้แก่ สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ ซึ่งอสังหาและสังหาพิเศษ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด ได้แก่ สัญญาจะซื้อขายอสังหาหรือสังหาพิเศษ ,สัญญาซื้อขายอสังหาที่มีราคตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป เช่าอสังหา กู้ยื่มเงินเกินกว่าสองพันบาท ,การนำสืบการใช้เงิน ค้ำประกัน การตั้งตัวแทนกิจการที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ๗๙๘ สัญญาประนีประนอม ประกันภัย สัญญาแบ่งมรดก
[2] ห้ามเฉพาะการรับฟังพยานบุคคล ไม่ต้องห้ามรับฟังพยานเอกสารเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไข เปลี่ยนแปลง พยานเอกสารด้วยกัน
[3] สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่ต้องห้ามนำสืบพยานบุคคล,สัญญาเช่าไม่ได้ระบุว่าเป็นตัวแทนผู้ใด จะนำสืบพยานบุคคลว่าทำสัญญาแทนผู้อื่นไม่ได้ ,
 การทำสัญญามือเปล่าตกเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่อาจสมบูรณ์โดยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่อาจสมบูรณ์โดยการโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทนซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง , 
สัญญาจะซื้อขายจะฟ้องร้องกันได้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือชำระหนี้บางส่วนหรือวางมัดจำ กรณีกฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีดังนั้นหากเป็นการชำระหนี้บางส่วนหรือวางมัดจำก็สืบพยานบุคคลได้แต่หากมีการทำสัญญาเป็นแม้มีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนเป็นกรณีที่ต้องมีเอกสารมาแสดงต้องห้ามนำสืบพยานบุคคล,
สัญญาชื้อขาย -ไม่ได้กำหนดค่าธรรมเนียมไว้ กฎหมายกำหนดให้ชำระคนละครึ่งนำสืบว่าฝ่ายใดชำระทั้งหมดไม่ได้-นำสืบราคาต่างจากที่ระบุในสัญญาไม่ได้ หากมิได้นำสืบเพื่อให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายไม่ต้องห้ามเช่น ฟ้องให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายเพราะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ นำสืบพยานบุคคลว่าซื้อมาในราคาที่สูงกว่าสัญญาเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี๗๐๗๕/๓๘ การนำสืบสัญญาซื้อขายทรัพย์ที่มีส่วนควบ แต่สัญญาซื้อขายไม่ไดกล่าวถึงส่วนควบว่าตกลงขายหรือไม่ดังนี้ต้องถือว่าได้ตกลงขายด้วยจะนำสืบว่าไม่ได้ตกลงขายส่วนควบด้วยไม่ได้ ๖๘๕/๐๗-การนำสืบว่ามีข้อตกลงต่างหากจากสัญญาซื้อขาย ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ นำสืบพยานบุคคลได้เช่น นำสืบว่าไห้ตกลงกันที่ไว้บางส่วนเพื่อเป็นทางสาธารณะ-สัญญาซื้อขายระบุว่าเป็นการทำแทนนิติบุคคลจำนำสืบว่าทำในฐานนะส่วนตัวไม่ได้ ๒๐๘๖/๒๕๓๖หากนำสืบว่าเป็นตัวแทนเชิดไม่ต้องห้ามเพราะไม่ต้องมีหลักฐานตามม.๘๒๑ และไม่ต้องห้ามปวิพ.๙๔ ,
การนำสืบข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงิน -หากไม่ได้ระบุเวลาไว้จะเรียกให้ชำระเมื่อใดก็ได้ ม.๒๐๓ ดังนั้นจะนำสืบว่ามีกำหนดเวลาชำระไม่ได้หรือไมได้ระบุดอกเบี้ยไว้จะนำสืบว่ากำหนดดอกเบี้ยไว้ไม่ได้,-สัญญากู้ยืมเงินเกินว่า๒๐,๐๐๐บาทไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จะนำสืบพยานบุคคลไม่ได้ ๙๘๖๖/๔๔ ,สัญญาระบุไว้ตามกฎหมายนำสืบว่าตกลงคิดดอเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ เป็นการนำสืบว่าเอกสารไม่ถูกต้อง ปวิพ.ม.๙๔วรรคท้าย-การนำสืบว่ายอดเงินตามสัญญาเงินกู่ได้รวมดอกเบี้ยล่วงหน้า ซึ่งเรียกเกินอัตราผิดกฎหมายเข้าไว้ด้วยในมาตรา ๙๔วรรคท้าย,
กรณีพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทน  -การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ปพพ.ม.๗๙๘ นั้นไม่ใช่แบบหรือสัญญาตัวแทน สัญญาตั้งตัวแทนจึงไม่มีแบบแต่อย่างใด บทบัญญัติปพพ.ม.๗๙๘ เป็นเรื่องความผูกพัน
[4] การนำสืบว่าตกลงคิดดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนดเท่ากับนำสืบว่าข้อตกลงนั้นบังคับไม่ได้ หรือเอกสารไม่ถูกต้อง , นำสืบว่าสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลย เป็นสัญญากู้ยืมหรือสัญญาประกันหนี้ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย เป็นการนำสืบว่าสัญญาซื้อขายนั้นไม่ถูกต้องเพราะเป็นนิติกรรมอำพราง ,
[5] หนี้ไม่สมบูรณ์ ,-นำสืบเรื่องนิติกรรมอำพราง  เพราะเท่ากับเป็นนำสืบว่านิติกรรมที่แสดงออกมาเป็นโมฆะ  เช่นอ้างว่าไม่เคยยกที่ดินให้เอกแต่เป็นการขายที่พิพาทโดยให้เอกถือไว้แทน(ยกให้อำพรางซื้อขาย) ,-นำสืบว่าขายฝากอำพรางจำนอง ,-สัญญากู้ยืมเงินจะสมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ตามปพพ.ม.๖๕๐ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลได้ว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินที่กู้  , -
[6] ได้แก่ การนำสืบอธิบายของข้อความในเอกสารที่ไม่ชัดเจน ขัดแย้งกันเอง หรือมีความหมายหลายนัย หรือข้อความในเอกสารเกิดความสงสัย จึงสืบพยานบุคคลอธิบายได้ว่าข้อความนั้นมีความหมายตามเจตนาที่แท้จริงของคู่ความเป็นอย่างไร เช่น สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่า ส่วนที่เหลือ ๑,๘๕๐,๐๐๐ บาทจะจ่ายเมื่อธนาคารอนุมัติให้ ไม่ได้กำหนดให้เห็นว่าหากธนาคารไม่อนุมัติผลจะเป็อย่างไร จึงนำสืบได้ว่าหากธนาคารไม่อนุมัติให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายให้เลิกกัน ,-หรือสัญญษมีข้อความที่ขัดแย้งกันเองนำสืบพยานบุคคลถึงเจตนาที่แท้จริงได้  ,-ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการชำระหนี้เงินกู้ระบุเพียงว่ารับเงินไม่ได้แยกแยะว่าเป็นเงินอะไร การนำสืบอธิบายข้อความว่าชำระต้นเงินและดอกเบี้ยได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น