วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

ปวิพ ม.๘๔


มาตรา ๘๔ การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัย[1]พยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่
(๑) ข้อเท็จจริง[2]ซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
(๒) ข้อเท็จจริง[3]ซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือ
(๓) ข้อเท็จจริงที่[4]คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล


[1] พยานหลักฐานในสำนวน คือ พยานหลักฐานที่ได้ผ่านกระบวนการนำสืบพยานหลักฐานมาอย่างถูกต้องตามหลักกฎหมายว่าด้วยการยื่นพยานหลักฐานตามม.๘๕ ,๘๖ ,รวมถึง พยานหลักฐานที่ได้ยื่นกันไว้ในชั้นไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล,ชั้นคุ้มครองชั่วคราว,(ถือว่าพยานหลักฐานได้เข้ามาสู่สำนวนแล้ว)
[2] ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป หมายถึง แม้ไม่มีการนำสืบศาลสามารถใช้ความรู้ความเห็นของศาล ตรวจสอบได้เองเช่น วันใดเป็นวันหยุดราชการ สูตรสำเร็จเวลาดวงจันทร์ขึ้น ,ถ้อยคำภาษาไทยที่มิใช่ถ้อยคำพิเศษ เช่นคำว่าโทรศัพท์  กรณีไม่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป เช่น ระเบียบ หรือคำสั่งของทางราชการ,ภาษต่างประเทศ ,กฎหมายต่างประเทศ,กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่ากฎกระทรวง ,สถานที่ตั้งของหน่วยงานราชการ ,ข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีที่ต้องนับโทษต่อ,บุคคลใดดำรงตำแหน่งใด
[3] ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ เช่น กรณีมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้บัญญัติข้อเท็จจริงใดเป็นเด็ดขาด เช่น ปวิพ.ม.๑๔๕ คำพิพากษาผูกพันคู่ความ ปวิอ.ม๔๖ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
[4] คำรับ  ผลของคำรับคือ ทำให้ข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ฟังเป็นยุติดตามคำรับของคู่ความนั้น จะสืบข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งคำรับต้องเป็นคำรับของคู่ความในศาลด้วยจึงจะถือว่าเป็นคำรับ เช่น 
๑).คำรับของคู่ความในศาล 
๒).คำรับที่เกิดจากคำให้การตามมาตรา ๑๗๗วรรคสอง (ไม่ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างโจทก์)ข้อยกเว้น กรณีคดีอาญาแม้จำเลยไม่ให้การก็ถือว่าปฏิเสธ ,จำเลยไม่ยื่นคำให้การไม่ถือว่าเป็นการยอมรับเพราะ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ต่อเมื่อคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย และคำรับต้องไม่มีเงื่อนไข หากมีเงื่อนไขถือว่าเป็นคำท้า(คำท้า  คือ การยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายอ้างตามม.๘๔(๓)โดยมีเงื่อนไขการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อน ถ้าผลการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดอีกฝ่ายก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างอีกฝ่ายนั้นทั้งหมด  ผล คือ คำรับจะมีผลเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้า หลักคำท้า ได้แก่ ๑.มีได้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ๒.เป็นการเฉพาะตัวของคู่ความที่ทำคำท้า ๓.ยกเลิกคำท้าเองฝ่ายเดียวไม่ได้ เงื่อนไขคำท้า ต้องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา เช่น การสาบาน ,ตกลงให้ฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานคนใดคนหนึ่ง ,เอาผลคดีเรื่องอื่นเป็นเรื่องแพ้ชนะ,ท้าเรื่องหน้าที่นำสืบ  ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย-ต้องไม่เป็นการพนันขันต่อ ,คำท้าที่ไม่อาจบรรลุผลศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยสืบพยานโจทก์จำเลยไปตามปกติ โดยเริ่มที่จุดเริ่มท้ากัน ,คำรับนอกศาลหรือรับในคดีอื่นไม่เป็นคำรับแต่เป็นเพียงพยานบอกเล่าเท่านั้น 
๓). วันชี้สองสถานศาลสอบถามข้อเท็จจริงใด คู่ความมีหน้าที่ต้องตอบ ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบ คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว,
๔)คู่ความฝ่ายที่มีต้นฉบับอยู่ในความครอบครองแต่ไม่ยอมส่งต้นฉบับตามคำสั่งเรียกของศาล ,
๕)กรณีเดิมจำเลยให้การปฏิเสธแต่ภายหลังกับแถลงรับ ถือว่าสละสิทธิข้อต่อสู้ตามคำให้การ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงไม่จต้องนำสืบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น