วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

ปวิพ.ม.๑๒๗


มาตรา ๑๒๗  [1]เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรอง หรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น และเอกสารเอกชนที่มีคำพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายัน ต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร


[1] เอกสารมหาชนได้แก่  ๑.ใบสำคัญการสมรส ๒.ใบมรณะบัตร  ๓.สูติบัตร ๔.สำนาทะเบียนบ้าน (๔๙๔/๒๔) ๕.หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ๖.บันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ (นส.๓ ,นส๓ก.)๗.โฉนดที่ดิน  ๘.บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า ๓๕๙/๓๘ , ๙.สำนวนคดีความของศาลและคำพิพากษา ๑๐.หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถบรรทุก ของกรมการขนส่งทางบก ๑๑.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่เจ้าพนักงานรับรอง 

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

ปวิพ.ม.๙๔


มาตรา ๙๔  เมื่อใด[1]มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับ[2]ฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า [3]ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๒) แห่งมาตรา ๙๓ และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือ[4]ไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือ[5]สัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือ[6]คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด




[1] กรณีไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเช่น การจ้างทำของ ,การนำสืบว่าชำระดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาของเงินต้นตามสัญญากู้ทั้งเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเรื่องดอกเบี้ยไม่มีกฎหมายให้ต้องมีหนังสือมาแสดง,การรับสภาพหนี้,สัญญาจำนำ,การชำระหนี้เงินกู้ด้วยของอย่างอื่นมิใช่เงินเช่นการโอนเงินเข้าบัญชี   
กรณีต้องมีพยานหลักฐานมาแสดงได้แก่การต้องทำเป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง ,สัญญาเช่าชื้อ,การบอกกล่าวจำนอง,การตั้งตัวแทนในกิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือ,ตั๋วเงิน๘๙๘ ๗๐๐,พินัยกรรม๑๖๕๖ ,การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ๑๑๒๙,การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี  ต้องทำเป็นหนังสือและจำทะเบียนต่อจพง. ได้แก่ สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ ซึ่งอสังหาและสังหาพิเศษ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด ได้แก่ สัญญาจะซื้อขายอสังหาหรือสังหาพิเศษ ,สัญญาซื้อขายอสังหาที่มีราคตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป เช่าอสังหา กู้ยื่มเงินเกินกว่าสองพันบาท ,การนำสืบการใช้เงิน ค้ำประกัน การตั้งตัวแทนกิจการที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ๗๙๘ สัญญาประนีประนอม ประกันภัย สัญญาแบ่งมรดก
[2] ห้ามเฉพาะการรับฟังพยานบุคคล ไม่ต้องห้ามรับฟังพยานเอกสารเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไข เปลี่ยนแปลง พยานเอกสารด้วยกัน
[3] สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่ต้องห้ามนำสืบพยานบุคคล,สัญญาเช่าไม่ได้ระบุว่าเป็นตัวแทนผู้ใด จะนำสืบพยานบุคคลว่าทำสัญญาแทนผู้อื่นไม่ได้ ,
 การทำสัญญามือเปล่าตกเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่อาจสมบูรณ์โดยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่อาจสมบูรณ์โดยการโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทนซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง , 
สัญญาจะซื้อขายจะฟ้องร้องกันได้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือชำระหนี้บางส่วนหรือวางมัดจำ กรณีกฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีดังนั้นหากเป็นการชำระหนี้บางส่วนหรือวางมัดจำก็สืบพยานบุคคลได้แต่หากมีการทำสัญญาเป็นแม้มีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนเป็นกรณีที่ต้องมีเอกสารมาแสดงต้องห้ามนำสืบพยานบุคคล,
สัญญาชื้อขาย -ไม่ได้กำหนดค่าธรรมเนียมไว้ กฎหมายกำหนดให้ชำระคนละครึ่งนำสืบว่าฝ่ายใดชำระทั้งหมดไม่ได้-นำสืบราคาต่างจากที่ระบุในสัญญาไม่ได้ หากมิได้นำสืบเพื่อให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายไม่ต้องห้ามเช่น ฟ้องให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายเพราะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ นำสืบพยานบุคคลว่าซื้อมาในราคาที่สูงกว่าสัญญาเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี๗๐๗๕/๓๘ การนำสืบสัญญาซื้อขายทรัพย์ที่มีส่วนควบ แต่สัญญาซื้อขายไม่ไดกล่าวถึงส่วนควบว่าตกลงขายหรือไม่ดังนี้ต้องถือว่าได้ตกลงขายด้วยจะนำสืบว่าไม่ได้ตกลงขายส่วนควบด้วยไม่ได้ ๖๘๕/๐๗-การนำสืบว่ามีข้อตกลงต่างหากจากสัญญาซื้อขาย ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ นำสืบพยานบุคคลได้เช่น นำสืบว่าไห้ตกลงกันที่ไว้บางส่วนเพื่อเป็นทางสาธารณะ-สัญญาซื้อขายระบุว่าเป็นการทำแทนนิติบุคคลจำนำสืบว่าทำในฐานนะส่วนตัวไม่ได้ ๒๐๘๖/๒๕๓๖หากนำสืบว่าเป็นตัวแทนเชิดไม่ต้องห้ามเพราะไม่ต้องมีหลักฐานตามม.๘๒๑ และไม่ต้องห้ามปวิพ.๙๔ ,
การนำสืบข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงิน -หากไม่ได้ระบุเวลาไว้จะเรียกให้ชำระเมื่อใดก็ได้ ม.๒๐๓ ดังนั้นจะนำสืบว่ามีกำหนดเวลาชำระไม่ได้หรือไมได้ระบุดอกเบี้ยไว้จะนำสืบว่ากำหนดดอกเบี้ยไว้ไม่ได้,-สัญญากู้ยืมเงินเกินว่า๒๐,๐๐๐บาทไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จะนำสืบพยานบุคคลไม่ได้ ๙๘๖๖/๔๔ ,สัญญาระบุไว้ตามกฎหมายนำสืบว่าตกลงคิดดอเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ เป็นการนำสืบว่าเอกสารไม่ถูกต้อง ปวิพ.ม.๙๔วรรคท้าย-การนำสืบว่ายอดเงินตามสัญญาเงินกู่ได้รวมดอกเบี้ยล่วงหน้า ซึ่งเรียกเกินอัตราผิดกฎหมายเข้าไว้ด้วยในมาตรา ๙๔วรรคท้าย,
กรณีพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทน  -การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ปพพ.ม.๗๙๘ นั้นไม่ใช่แบบหรือสัญญาตัวแทน สัญญาตั้งตัวแทนจึงไม่มีแบบแต่อย่างใด บทบัญญัติปพพ.ม.๗๙๘ เป็นเรื่องความผูกพัน
[4] การนำสืบว่าตกลงคิดดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนดเท่ากับนำสืบว่าข้อตกลงนั้นบังคับไม่ได้ หรือเอกสารไม่ถูกต้อง , นำสืบว่าสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลย เป็นสัญญากู้ยืมหรือสัญญาประกันหนี้ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย เป็นการนำสืบว่าสัญญาซื้อขายนั้นไม่ถูกต้องเพราะเป็นนิติกรรมอำพราง ,
[5] หนี้ไม่สมบูรณ์ ,-นำสืบเรื่องนิติกรรมอำพราง  เพราะเท่ากับเป็นนำสืบว่านิติกรรมที่แสดงออกมาเป็นโมฆะ  เช่นอ้างว่าไม่เคยยกที่ดินให้เอกแต่เป็นการขายที่พิพาทโดยให้เอกถือไว้แทน(ยกให้อำพรางซื้อขาย) ,-นำสืบว่าขายฝากอำพรางจำนอง ,-สัญญากู้ยืมเงินจะสมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ตามปพพ.ม.๖๕๐ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลได้ว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินที่กู้  , -
[6] ได้แก่ การนำสืบอธิบายของข้อความในเอกสารที่ไม่ชัดเจน ขัดแย้งกันเอง หรือมีความหมายหลายนัย หรือข้อความในเอกสารเกิดความสงสัย จึงสืบพยานบุคคลอธิบายได้ว่าข้อความนั้นมีความหมายตามเจตนาที่แท้จริงของคู่ความเป็นอย่างไร เช่น สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่า ส่วนที่เหลือ ๑,๘๕๐,๐๐๐ บาทจะจ่ายเมื่อธนาคารอนุมัติให้ ไม่ได้กำหนดให้เห็นว่าหากธนาคารไม่อนุมัติผลจะเป็อย่างไร จึงนำสืบได้ว่าหากธนาคารไม่อนุมัติให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายให้เลิกกัน ,-หรือสัญญษมีข้อความที่ขัดแย้งกันเองนำสืบพยานบุคคลถึงเจตนาที่แท้จริงได้  ,-ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการชำระหนี้เงินกู้ระบุเพียงว่ารับเงินไม่ได้แยกแยะว่าเป็นเงินอะไร การนำสืบอธิบายข้อความว่าชำระต้นเงินและดอกเบี้ยได้

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

ปวิพ.ม.๙๐


มาตรา [1]๙๐ ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็น[2]พยานหลักฐานเพื่อ[3]สนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนตามมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่ง[4]สำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดยื่นคำแถลงหรือคำร้องขออนุญาตอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา ๘๘ วรรคสองหรือวรรคสาม ให้ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นพร้อมกับการยื่นคำแถลงหรือคำร้องดังกล่าว เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ยื่นสำเนาเอกสารภายหลังเมื่อมีเหตุอันสมควร
คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานไม่ต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาล และไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความฝ่ายอื่นในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิง[5]เอกสารเป็นชุดซึ่งคู่ความฝ่ายอื่นทราบดีอยู่แล้วหรือสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้น เช่น จดหมายโต้ตอบระหว่างคู่ความในคดี หรือสมุดบัญชีการค้า และสมุดบัญชีของธนาคารหรือเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่น
(๒) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือของบุคคลภายนอก
(๓) ถ้าการคัดสำเนาเอกสารจะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิงเอกสารนั้น หรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจคัดสำเนาเอกสารให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ให้ยื่นสำเนาเอกสารนั้น
กรณีตาม (๑) หรือ (๓) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตงดการยื่นสำเนาเอกสารนั้นและขอยื่นต้นฉบับเอกสารแทน เพื่อให้ศาลหรือคู่ความฝ่ายอื่นตรวจดูตามเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกำหนด
กรณีตาม (๒) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเอกสารนั้นมาจากผู้ครอบครองตามมาตรา ๑๒๓ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี และให้คู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่ติดตามเพื่อให้ได้เอกสารดังกล่าวมาภายในเวลาที่ศาลกำหนด


[1] ผลของการไม่ส่งสำเนาให้ฝ่ายอื่น  เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา ๒๗ และอีกฝ่ายต้องทำการคัดค้านภายใน ๘ วัน นับแต่วันที่อีกฝ่ายต้องส่งเอกสาร มิฉะนั้นถือว่ายอมรับแล้ว
[2] จำกัดเฉพาะพยานเอกสารเท่านั้น  กรณีภาพถ่ายเป็นเพียงจำลองวัตถุไม่ใช่พยานเอกสารไม่ต้องส่ง หรือ รายงานความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นส่วนประกอบของพยานผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่เอกสาร , เอกสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคำคู่ความ เช่นใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่ใช้การอ้างเป็นพยานหลักฐาน,  คดีมโนสาเร่ยกเว้นไม่ต้องส่งสำเนาเนื่องจากจำเลยต้องให้การและสืบพยานในวันเดียวกัน ,กรณีสำเนาแนบมาท้ายคำให้การและอีกฝ่ายได้รับแล้วถือว่าได้รับแล้วไม่ต้องส่งสำเนาอีก เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาตามม.๙๐ มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารยันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อนเพื่อได้ชักค้านได้ถูกต้องไม่เสียเปรียบกัน,คำแปลภาษาต่างประแทศเป็นภาษาไทยไม่ถือเป็นเอกสารที่คู่ความอ้างส่งในคดี
[3] ใช้เฉพาะการสืบพยานประเด็นหลัก   กรณีการไต่สวนคำร้องขอต่าง ๆ ไม่ต้องส่งสำเนาเช่น คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ,คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ,คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว
[4] ไม่ได้บังคับว่าต้องเป็นเอกสารที่ถ่ายมาจากต้นฉบับ การพิมพ์ข้อความเดียวกับต้นฉบับก็ถือว่าเป็นสำเนาเอกสารได้
[5] เอกสารรายงานการใช้จ่ายบัตรเครดิต บัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารแจ้งให้ทราบทุกเดือน

ปวิพ.ม.๘๘


มาตรา ๘๘ เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคำเบิกความของพยานคนใด หรือมีความจำนงที่จะให้ศาลตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรืออ้างอิงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งหรือความเห็นของผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ [1]เพื่อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้น[2]ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล[3]ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยแสดงเอกสารหรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง และ[4]รายชื่อ ที่อยู่ของบุคคล ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ วัตถุ หรือสถานที่ซึ่งคู่ความฝ่ายนั้นระบุอ้างเป็นพยานหลักฐาน หรือขอให้ศาลไปตรวจ หรือขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญแล้วแต่กรณี พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นมารับไปจากเจ้าพนักงานศาล
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงจะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและสำเนาบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยาน
เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้วแต่กรณี ได้สิ้นสุดลงแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ายใดซึ่งได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว มีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่า[5]ตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนหรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่ หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด หรือถ้าคู่ความฝ่ายใดซึ่งมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ คู่ความฝ่ายนั้นอาจ[6]ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดีและถ้าศาลเห็นว่า เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาด[7]ข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลอนุญาตตามคำร้อง


[1] หมายถึง ข้ออ้างข้อเถียงในประเด็นแห่งคดีเท่านั้น หากเป็นการไต่สวนคำร้องต่าง ๆ เช่น การไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่  ไม่อยู่ในบังคับต้องยื่นภายในกำหนดของมาตรา ๘๘ ,เว้นการคำร้องขอให้ชำระหนี้จำนองต้องยื่นภายในกำหนด,หากมีการยื่นในชั้นไต่สวนคำร้องแล้วถือว่ายื่นทั้งคดีเช่นยื่นบัญชีระบุชั้นไต่สวนคำร้องอนาถาโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นเฉพาะชั้นไต่สวนคำร้อง แสดงว่าคูความประสงค์ยื่นทั้งคดีหรือแม้ระบุว่ายื่นไต่สวนอนาถาแต่ชั้นพิจารณายื่นคำแถลงว่าขอระบุพยานเพิ่มเติมถือว่าเป็นการขอนำบัญชีชั้นอนาถาเป็นบัญชีระบุพยานชั้นพิจารณาด้วย , เอกสารที่ใช้ในการถามค้านที่พยานรับรองแล้วไม่จำต้องระบุพยานไว้(ถามตามมาตรา ๘๙) เพราะไม่ใช้พยานที่สนับสนุนแต่เป็นการทำลายน้ำหนักพยาน , เอกสารที่คู่ความแนบมากับคำคู่ความไม่อยู่ในบังคับต้องยื่นบัญชีระบุพยานเช่นหนังสือสัญญาชื้อขายแนบมาท้ายฟ้องหรือพยานหลักฐานที่คู่ความรับว่ามีอยู่จริง เช่นการยอมรับว่าเคยมีการฟ้องร้องคดีกันแล้ว , การอ้างคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกันเพียงแต่ระบุพยานไว้และได้เสียค่าอ้างก็ถือว่าเป็นเอกสารในสำนวนแล้วแต่หากเป็นศาลอื่นเพียงแต่ระบุพยานไว้และได้เสียค่าอ้างแต่ไม่ได้ขอให้ศาลเรียกมาไม่ถือว่เป็นพยานหลักฐานในสำนวน,พยานผู้เชี่ยวชาญ กรณีเป็นการอ้างต้องยื่นบัญชีระบุพยาน หากศาลเห็นเป็นการจำเป็นและสมควรตั้งผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นอำนาจของศาลตามม.๙๙ ไม่จำต้องยื่นฯ
[2] การยื่นบัญชีระบุพยานจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการสืบพยานฝ่ายนั้นด้วย
[3] วันสืบพยาน หมายถึงวันที่ศาลเริ่มต้นสืบพยาน ซึ่งหมายถึงวันที่มีการสืบพยานกันจริง ๆ  ,เจ็ดวันหมายถึงเจ็ดวันเต็ม
[4] มีแต่รายชื่อไม่มีที่อยู่เป็นบัญชีระบุพยานที่ไม่ชอบ เช่น ยื่นบัญชีระบุพยานระบุว่าที่อยู่จะเสนอต่อศาลในวันออกหมายเรียก,
[5] ต้องอ้างให้เข้าสามเหตุ จึงจะยื่นได้ กรณีไม่เข้าได้แก่ เพิ่งได้พบพยาน  บัญชีระบุพยานที่ยื่นไว้ไม่ครบถ้วนหรือเพราะเป็นความพลั้งเผลอของทนายไม่เข้าเหตุ ที่เข้าเหตุได้แก่ สำเนาคำพิพากษาที่ระบุเพิ่มเติศาลเพิ่งมีคำพิพากษา,อ้างว่าทนายเจ็บป่วยเป็นเหตุอันสมควร ,ศาลจะรับหรือไม่ต้องพิจารณาว่าพยานที่อ้างเกี่ยวกับพยานแห่งคดีหรือไม่(แม้จะอ้างเข้าเหตุ) ,แม้อ้างไม่เข้าเหตุศาลอาจใช้อำนาตตามมาตรา ๘๗ วรรคสองได้ ,นำไปใช้ชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้
[6] ต้องยื่นเป็นคำร้อง หากคู่ความทำเป็นคำแถลงศาลไม่รับไว้พิจารณา เพราะมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย
[7] ต้องเป็นหลักฐานสำคัญและต้องเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีด้วย  กล่าวคือ ต้องเป็นพยานหลักฐานที่สามารถพิสูจน์หรือชี้ขาดเป็นข้อแพ้ชนะคดีได้  กรณีไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เช่น ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเท่าใด ไม่ใช่ข้อแพ้ชนะแห่งคดี ประกาศของกระทรวงการคลัง เรื่องอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ใช่พยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับข้อสำคัญในคดี เมื่อไม่ระบุบัญชีพยาน ศาลไม่มีอำนาจรับฟัง  ,  โดยเฉพาะการที่คู่ความไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๘ และ ๙๐ เป็นการเอาเปรียบเชิงคดี ศาลไม่รับฟังเอกสารนั้นได้ เช่น อ้างพยานเอกสารถามค้านพยานปากสุดท้ายทั้งที่เอกสารอยู่กับตน 

ปวิพ.ม.๘๗


มาตรา ๘๗  ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใดเว้นแต่
(๑) [1]พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ และ
(๒) คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๘ และ ๙๐ แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้


[1] หมายถึง  ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีหรือประเด็นข้อพิพาท   หลัก แม้ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นได้ แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวต้องได้มาจากกระบวนพิจารณาโดยชอบ หากไม่ได้มาจากกระบวนพิจารณาโดยชอบต้องห้ามม.๘๗  เช่น ประเด็นมีเพียงว่าทรัพย์สินเป็นของโจทก์ก่อนจดทะเบียนสมรสหรือไม่ จะนำสืบว่าการจดทะเบียนหย่าสมบูรณ์หรือไม่ต้องห้าม ม.๘๗

ปวิพ.ม.๘๕


มาตรา ๘๕  คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะนำ[1]พยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน


[1] พยานหลักฐาน กรณีที่ถือว่าไม่เป็นพยานหลักฐานได้แก่  คำคู่ความ คำร้อง คำขอ หรือคำแถลงต่าง ๆ,คำแถลงของผู้เสียหาย มิใช่คำคู่ความและมิใช่คำรับ ,รายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ ,คำแปลเอกสารต่างประเทศ ,การที่ศาลเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการ มาประกอบการวินิจฉัยคดี ตามปวิอ.ม.๑๗๕ ไม่ใช่ทั้งการสืบพยานและการพิจารณา (ผลไม่ต้องระบุไว้ในบัญชีระบุพยานและไม่ต้องส่งสำเนาล่วงหน้า,และไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย)

ปวิพ.ม.๘๔/๑


มาตรา ๘๔/๑ คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตนให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามี[1]ข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว


[1] ข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมาย เช่น
๑.ข้อสันนิษฐานตามปพพ.ม.๒๓๗ (ครอบครองพาหนะเดินด้วยเครื่องจักร) แต่ต้องเป็นกรณีที่ฝ่ายหนึ่งเป็นยานพาหนะเดินด้วยเครื่องจักร แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ (หากครองพาหนะเดินด้วยเครื่องจักรทั้งสองฝ่ายต้องใช้หลักทั่วไปคือใครมีหน้าที่นำสืบ) แม้ผู้โดยสารก็ไม่ได้รับประโยชน์ข้อสันนิษฐานดังกล่าว  ,  ๒.ข้อสันนิษฐานตามมาตรา ๑๓๑๗ หมายถึงผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน รวมทั้ง น.ส.๓ ,น.ส.๓ ก. (ใช้เฉพาะประเด็นว่าที่พิพาทใครมีสิทธิดีกว่าเท่านั้น หากอ้างว่าที่ดินอยู่ในเขตโฉนดของใครใช้หลักใครอ้างคนนั้นพิสูจน์) (ผู้เป็นทายาทผู้มีชื่อในโฉนดก็ได้รับประโยชน์)(สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินมีโฉนดก็ได้รับประโยชน์ตามหลักส่วนควบ) ,
๓.ข้อสันนิษฐานตาม ปพพ.ม.๑๓๖๙และ๑๓๗๒ (ที่ดินมือเปล่าผู้ยึดถือ ยึดถือเพื่อตนและมีสิทธิครอบครอง)(ใช้เฉพาะประเด็นเรื่องใครมีสิทธิในที่ดินมือเปล่าดีกว่ากัน)เว้น กรณีพิพาทกับเจ้าหน้าที่รัฐว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เพราะไม่สามารถยกเอาการครอบครองยันรัฐได้  ,
๔.ปพพ.มาตรา ๖ บุคคลกระทำการโดยสุจริต,
๕.ปพพ.ม.๑๔๗๔ วรรคท้าย ข้อสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส (ใช้เฉพาะที่อ้างว่าเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสเท่านั้น การอ้างว่าเป็นทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่เข้ามาตรานี้) ,
๖.ปพพ.ม.๘๗๗ วรรคสอง จำนวนเงินทีเอาประกันภัยเป็นหลักประมาณอันถูกต้องในการตีราคานั้น ,
๗.ปพพ.มาตรา ๓๒๗ สันนิษฐานว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อนๆ ,
๘.ปวิพ.ม.๑๒๗ เอกสารมหาชนเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้อง ,

ปวิพ ม.๘๔


มาตรา ๘๔ การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัย[1]พยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่
(๑) ข้อเท็จจริง[2]ซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
(๒) ข้อเท็จจริง[3]ซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือ
(๓) ข้อเท็จจริงที่[4]คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล


[1] พยานหลักฐานในสำนวน คือ พยานหลักฐานที่ได้ผ่านกระบวนการนำสืบพยานหลักฐานมาอย่างถูกต้องตามหลักกฎหมายว่าด้วยการยื่นพยานหลักฐานตามม.๘๕ ,๘๖ ,รวมถึง พยานหลักฐานที่ได้ยื่นกันไว้ในชั้นไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล,ชั้นคุ้มครองชั่วคราว,(ถือว่าพยานหลักฐานได้เข้ามาสู่สำนวนแล้ว)
[2] ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป หมายถึง แม้ไม่มีการนำสืบศาลสามารถใช้ความรู้ความเห็นของศาล ตรวจสอบได้เองเช่น วันใดเป็นวันหยุดราชการ สูตรสำเร็จเวลาดวงจันทร์ขึ้น ,ถ้อยคำภาษาไทยที่มิใช่ถ้อยคำพิเศษ เช่นคำว่าโทรศัพท์  กรณีไม่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป เช่น ระเบียบ หรือคำสั่งของทางราชการ,ภาษต่างประเทศ ,กฎหมายต่างประเทศ,กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่ากฎกระทรวง ,สถานที่ตั้งของหน่วยงานราชการ ,ข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีที่ต้องนับโทษต่อ,บุคคลใดดำรงตำแหน่งใด
[3] ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ เช่น กรณีมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้บัญญัติข้อเท็จจริงใดเป็นเด็ดขาด เช่น ปวิพ.ม.๑๔๕ คำพิพากษาผูกพันคู่ความ ปวิอ.ม๔๖ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
[4] คำรับ  ผลของคำรับคือ ทำให้ข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ฟังเป็นยุติดตามคำรับของคู่ความนั้น จะสืบข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งคำรับต้องเป็นคำรับของคู่ความในศาลด้วยจึงจะถือว่าเป็นคำรับ เช่น 
๑).คำรับของคู่ความในศาล 
๒).คำรับที่เกิดจากคำให้การตามมาตรา ๑๗๗วรรคสอง (ไม่ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างโจทก์)ข้อยกเว้น กรณีคดีอาญาแม้จำเลยไม่ให้การก็ถือว่าปฏิเสธ ,จำเลยไม่ยื่นคำให้การไม่ถือว่าเป็นการยอมรับเพราะ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ต่อเมื่อคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย และคำรับต้องไม่มีเงื่อนไข หากมีเงื่อนไขถือว่าเป็นคำท้า(คำท้า  คือ การยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายอ้างตามม.๘๔(๓)โดยมีเงื่อนไขการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อน ถ้าผลการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดอีกฝ่ายก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างอีกฝ่ายนั้นทั้งหมด  ผล คือ คำรับจะมีผลเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้า หลักคำท้า ได้แก่ ๑.มีได้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ๒.เป็นการเฉพาะตัวของคู่ความที่ทำคำท้า ๓.ยกเลิกคำท้าเองฝ่ายเดียวไม่ได้ เงื่อนไขคำท้า ต้องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา เช่น การสาบาน ,ตกลงให้ฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานคนใดคนหนึ่ง ,เอาผลคดีเรื่องอื่นเป็นเรื่องแพ้ชนะ,ท้าเรื่องหน้าที่นำสืบ  ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย-ต้องไม่เป็นการพนันขันต่อ ,คำท้าที่ไม่อาจบรรลุผลศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยสืบพยานโจทก์จำเลยไปตามปกติ โดยเริ่มที่จุดเริ่มท้ากัน ,คำรับนอกศาลหรือรับในคดีอื่นไม่เป็นคำรับแต่เป็นเพียงพยานบอกเล่าเท่านั้น 
๓). วันชี้สองสถานศาลสอบถามข้อเท็จจริงใด คู่ความมีหน้าที่ต้องตอบ ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบ คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว,
๔)คู่ความฝ่ายที่มีต้นฉบับอยู่ในความครอบครองแต่ไม่ยอมส่งต้นฉบับตามคำสั่งเรียกของศาล ,
๕)กรณีเดิมจำเลยให้การปฏิเสธแต่ภายหลังกับแถลงรับ ถือว่าสละสิทธิข้อต่อสู้ตามคำให้การ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงไม่จต้องนำสืบ